วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เทคโนโลยีการสื่อสารเเละสารสนเทศ สรุปบท ที่ 1-11

สรุปบทความที่ 1 - 11





บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ

 เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน นับตั้งแต่ ด้านการศึกษา ด้านพานิชยกรรม ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม ด้านสาธารณสุข ด้านการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปช่วยในการทำงานนั้นๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

     ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมี 5 ประการ ดังนี้
1. การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากกว่าโทรศัพย์และคอมพิวเตอร์
3. มีผลให้การใช้งานด้านต่างๆ มีราคาถูกลง
4. เครือข่ายสื่อสารได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก
5. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์และต้นทุนการใช้ ICT มีราคาถูกลงมาก

     ข้อมูล (data) => กลุ่มตัวอักษรอักขระที่เมื่อนำมารวมกันแล้วมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งและสำคัญควรค่าแก่การจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในโอกาศต่างๆ ข้อมูลมักเป็นข้อความที่อธิบายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ใดๆ ที่สามารถนำไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์

     สารสนเทศ => ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ที่ได้รับการสรุป คำนวณ จัดเรียงหรือประมวลแล้วจากข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการจนได้เป็นความรู้เพื่อนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆ

     ข้อมูลและสารสนเทศนับว่าเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้บริหารงานด้านต่างๆ มากมายอาทิเช่น
- ด้านการวางแผน
- ด้านการตัดสินใจ
- ด้านการดำเนินงาน

     องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังต่อไปนี้ 
          1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอกเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า Hardware และอุปกรณ์ Hardware นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือเรียกว่า Software

 2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมใช้ในการติดต่อสื่อสาร รับ/ส่ง ข้อมูลจากที่ไกลๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่ รับ/ส่ง อาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) , ตัวอักษร (Text) , ภาพ (Image) และเสียง (Voice)

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมสารสนเทศ
- ทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก
- ทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น
- เป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัสและสามารถตอบสนองความต้องการการใช้ เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
- ทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
- ก่อให้เกิดการวางแผน การดำเนินการระยะยาวขึ้น
สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลก ด้านความเป็นอยู่สังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาด้านต่างๆ

     ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
          จากงานวิจัยของ Whittaker พบว่าปัจจัยของความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร มีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่
1. การขาดการวางแผนที่ดีพอ
2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน
3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง

     สำหรับสาเหตุอื่นๆ ที่พบ เช่น ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป (Schedule Overruns) และระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ปี
     นอกจากนี้ ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านผู้ใช้งานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ คือ
1.ความกลัวการเปลี่ยนแปลง
2.การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ
3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึงทำให้ขาดความเสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

 




บทที่ 2 ระบบคอมพิวเตอร์



ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึงการนับหรือการคำนวณพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า   “เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่เหมือนสมองกลใช้สำหรับ แก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์”
คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลข และตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไปนอกจากนี้ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆอีกมากอาทิ เช่น  การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์   การรับส่งข้อมูล  การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้
ประเภทของคอมพิวเตอร์
จากประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากทำให้ปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เลือกใช้มากมายหลายรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้จำแนกออกได้เป็น  4  ชนิด โดยพิจารณาจาก ความสามารถในการเก็บข้อมูลและ ความเร็วในการประมวลผล เป็นหลัก ดังนี้
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (SuperComputer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการ การประมวลผลซับซ้อนและต้องการความเร็วสูง เช่นงานวิจัยขีปนาวุธงานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรือ งานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) 
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลงสามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family) เดียวกันได้ โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal)จำนวนมากได้สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multitasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (MultiUser)ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ใน ธุรกิจขนาดใหญ่มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึงหลายร้อยล้านบาทตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือคอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ATMและสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง
มินิคอมพิวเตอร์ (MiniComputer) 
หมายถึง ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพงผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่า มินิคอมพิวเตอร์โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้ มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูล สามารถอ่าน เขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
ไมโครคอมพิวเตอร์ (MicroComputer) 
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็กมีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ( Personal Computer : PC) ปัจจุบันไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมากอาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อนนอกจากนั้นยังราคาถูกลงมาก ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มากทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้านตลอดจนตามโรงเรียน สถานศึกษาและบ้านเรือนบริษัทที่ ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรก คือ บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer)
2. แบบเคลื่อนย้ายได้ ( Portable Computer ) สามารถพกพาติดตัวอาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook Computer
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ในความเป็นจริงแล้วตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราเห็นๆกันอยู่นี้เป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ถ้าต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่เราต้องการนั้นจำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบพื้นฐาน 4  ประการ มาทำงานประสานร่วมกัน ซึ่งองค์ประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วย
  1. ฮาร์ดแวร์  (Hardware)
  2. ซอฟต์แวร์ (Software)
  3. บุคลากร
  4. ข้อมูล

บทที่ 3 ซอฟแวร์ระบบ

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS)
        หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้
          1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux , Mac OS X
          1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น , โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data)
          1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดเวอร์ หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้
          โดยปกติโปรแกรม windows ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดเวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดเวอร์เอง เช่น ไดเวอร์สำหรับเมาส์ ,ไดเวอร์คีย์บอร์ด, ไดเวอร์สำหรับการใช้ USB Port , ไดเวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดเวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดเวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์

          1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น
 

บทที่ 4 ซอฟแวร์ประยุกต์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (APPLICATION SOFTWARE)

12ก.ย.
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (APPLICATION SOFTWARE)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งถ้าโปรแกรมพัฒนาขึ้น เพื่อความต้องการเฉพาะขององค์การใดองค์การเหนึ่ง จะเรียกซอฟต์แวร์ประเภทนี้ว่า ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน (custom program หรือ tailor-made software) ซึ่งข้อดีคือโปรแกรมสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามความประสงค์ ของหน่วยงาน แต่ข้อเสียคือซอฟต์เวร์ประเภทนี้จะใช้เวลาในการพัฒนานาน และค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้สำหรับงานทั่ว ๆ ไปที่เรียก general-purpose software หรือบางครั้งเรียกว่า โปรแกรมสำเร็จรูป (package software) เป็นซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ (commercial software) ที่ผู้ใช้สามารถซื้อไปประยุกต์ใช้งานได้ทันที
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่นิยมใช้สำหรับงานทั่วไป สามารถแบ่งตามประเภทของงานได้ดังนี้
โปรแกรมประมวลผลคำ (word processor)
เป็นโปรแกรมด้านการจัดทำเอกสาร นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า word ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพื่อการผลิตเอกสาร ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รายงานจดหมาย บันทึกข้อความ หนังสือ และ สิ่งพิมพ์ทั่วไป โปรแกรมประมวลผลคำในปัจจุบันมีความสามารถในการใส่รูปภาพ ตาราง อักษรศิลป์ต่างๆ รวมทั้งยังมีเครื่องมือช่วยในการทำงานได้อย่างสะดวก เช่น ระบบการตรวจตัวสะกดและไวยากรณ์ เป็นต้น โปรแกรมประมวลผลคำที่นิยมใช้ในปัจจุบันนี้ ได้แก่ โปรแกรม Microsoft Word, WordPerfect และ Lotus Word Pro เป็นต้น
โปรแกรมด้านการคำนวณ (Spreadsheet)
เป็นโปรแกรมที่มีลักษณะตารางทำการ (Worksheet) เหมาะสำหรับงานการคำนวณตัวเลยในรูปแบบต่าง ๆ ตารางทำการประกอบด้วย ช่องตารางหรือเซลล์ (Cell) ที่เรียงเป็นแถวและคอลัมน์ สามารถป้อข้อมูลตัวอักษร ตัวเลข และสูตรการคำนวณได้ นอกจากนี้ยังสามารถ ใส่รูปภาพและจัดทำกราฟสถิติได้อย่างสวยงาม ลักษณะงานที่ใช้ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ เช่น การทำบัญชีงบกำไร – ขาดทุน รายงานการขาย การบันทึกคะแนนนักศึกษา ตัวอย่างซอฟต์แวร์สำเร็จรูปด้านการคำนวณ ได้ Microsoft Excel , Lotus 1-2-3 และ Quattro Pro เป็นต้น
โปรแกรมการนำเสนอข้อมูล (presentation)
เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยงานด้านการนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจเป็นการนำเสนอข้อมูลให้กับผู้เข้าฟังการประชุม สัมมนา หรือการบรรยาย ในการเรียนการสอน โดยทั่วไปนิยมที่จะนำคอมพิวเตอร์ไปพ่วงต่อกับเครื่องฉายวิดีทัศน์ (LCD projector) หรือจอทีวีขนาดใหญ่ เพื่อนำเสนอข้อมูลให้กับผู้ฟังที่มีจำนวนมากได้ด้วย
โปรแกรมนำเสนอข้อมูล จะมีต้นแบบสไลด์ (Template) ให้เลือกใช้ได้หลายรูปแบบ มีแบบตัวอักษรและรูปภาพประกอบต่าง ๆ จำนวนมาก สามารถใส่เทคนิคและลูกเล่นต่าง ๆ โดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหว แผนผังองค์กร และใช้สื่อประสม เช่น วิดีโอและเสียงประกอบได้
โปรแกรมการนำเสนอข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Microsoft PowerPoint ของบริษัทไมโครซอฟต์ และโปรแกรม Freelance Graphics ของบริษัท Lotus Development เป็นต้น
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Database)
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างข้อมูล เพื่อจัดเก็บและจัดการข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม แก้ไข หรือลบข้อมูล ตลอดจนการค้นหาข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนด นอกจากนี้โปรแกรมยังสามารถพิมพ์รายงานได้อย่างสวยงามอีกด้วย
ผู้ใช้โปรแกรมยังสามารถประยุกต์โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลกับงานด้านต่าง ๆ เช่น การจัดเก็บข้อมูลลูกค้า สินค้าคงคลัง ข้อมูลบุคลากร เป็นต้น
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Microsoft Access และ FoxPro เป็นต้น
โปรแกรมด้านงานพิมพ์ (desktop publishing)
เป็นโปรแกรมที่ใช้จัดหน้าสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ หนังสือ นามบัตร ใบประชาสัมพันธ์ การออกแบบแผ่นพับ (Brochure) โปรแกรมสามารถนำรูปภาพเข้ามาเป็นส่วนประกอบของงานได้ด้วย โปรแกรมที่ใช้สำหรับงานพับงานพิมพ์ในปัจจุบัน เช่น Adobe PageMaker เป็นต้น
โปรแกรมกราฟิก (graphics)
เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการตกแต่งงานกราฟิกต่าง ๆ ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ
– โปรแกรมสำหรับตกแต่งภาพ
เป็นโปรแกรมช่วยในการวาดภาพและตกแต่งภาพให้สวยงาม โดยใช้เครื่องมือที่มีลักษณะเหมือนดินสอ แปรง พู่กัน จานสี และอุปกรณ์ตกแต่ง ภาพอื่น ๆ ที่เลียนแบบของจริง นอกจากนี้ยังสามารถนำภาพที่ได้จากการสแกนภาพด้วยเครื่องสแกนเนอร์ (scanner) มาเชื่อมต่อในโปรแกรม เพื่อนำมาตกแต่งภาพได้
โปรแกรมด้านกราฟิกที่ใช้ตกแต่งภาพที่นิยมใช้ ได้แก่ Adobe PhotoShop, Microsoft Paint, CorelDraw เป็นต้น
– โปรแกรมช่วยออกแบบ
เป็นโปรแกรมที่ใช้ช่วยในการออกแบบงานด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม โปรแกรมช่วยออกแบบที่นิยมใช้ เช่น AutoCAD ซึ่งสามารถใช้ออกแบบงานต่าง ๆ เช่น บ้าน รถยนต์ ระบบไฟฟ้า แผงวงจร นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมออกแบบขนาดเล็กกว่า เช่น Generic Cadd และ Design Your Own Home เป็นต้น
โปรแกรมค้นหาข้อมูล (resource discovering software)
โปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างโปรแกรมด้านนี้ เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW) อาร์ชี (archie) โกเฟอร์ (gopher) เป็นต้น แต่ในปัจจุบันเวิลด์ไวด์เว็บถือเป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่ทุกคนควรรู้จัก ข้อมูลข่าวสารบนเวิลด์ไวด์เว็บเป็นรูปแบบสื่อประสม (multimedia) คือ สามารถดูภาพ อ่านข้อความ ฟังเสียง และดูวิดีโอภายในเว็บไซต์ (Web site) ของแหล่งข้อมูลที่เข้าเยี่ยมชมได้
นอกจากนี้บนเวิลด์ไวด์เว็บยังมีเครื่องมือที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เครื่องมือนี้เรียกว่าเครื่องค้นหา (search engine) ซึ่งบนเว็บไซต์ที่เก็บที่อยู่ของเว็บไซต์ต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตและเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เมื่อต้องการค้นหาข้อมูลอะไรก็ไปยังเว็บไซต์ ของเครื่องค้นหาเหล่านี้ ตัวอย่างเว็บไซต์เครื่องค้นหาได้แก่ http://www.yahoo.com,http://www.infoseek.comhttp://altavista.comhttp://thaiseek.com เป็นต้น
โปรแกรมด้านติดต่อสื่อสาร (communication software)
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้สะดวก รวดเร็ว และช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้ด้วย การสื่อสารอาจอยู่ในรูปของไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับได้ในทันที สามารถใช้แทนการส่งข้อความ โทรศัพท์ หรือแฟกซ์ เช่น บางองค์การธุรกิจใช้ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ในการรับ – ส่งใบซื้อสินค้าระหว่างประเทศ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงไปได้มาก
โปรแกรมในกลุ่มด้านการสื่อสาร ได้แก่
– โปรแกรมที่ใช้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข่าวสารผ่านกระดานข่าวมนนิวส์กรุ๊ป (newsgroup)
– โปรแกรมที่ช่วยในการโอนย้ายโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลจากแหล่งข้อมูลในเครือจ่ายอินเทอร์มาใช้งานที่เครื่องของตนเองได้ด้วย เช่น FTP (file transfer protocol)
– โปรแกรมที่ใช้สนทนาพูดคุยโต้ตอบกัน เช่น ICQ,miRC,MS Chat เป็นต้น เป็นการสนทนากันโดยผ่านแป้นพิมพ์หรือสื่อประสมอื่น ๆ โดยสามารถโต้ตอบกันแบบคำต่อคำได้แบบทันทีด้วย ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
โปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility)
เป็นโปรแกรมที่เรียกใช้งานเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดูแลรักษาความปลอดภัยและเสถียรภาพของ เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมสำหรับสำรองข้อมูลที่สำคัญในฮาร์ดดิสก์ (backup) โปรแกรมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ในฮาร์ดดิสก์ โปรแกรมที่ช่วยในการจัดระเบียบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ เพื่อสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โปรแกรมตรวจสอบไวรัส โปรแกรมบีบอัดข้อมูล เพื่อเพิ่มเนื้อที่ใช้งานในดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ให้มากขึ้น หรือโปรแกรมบีบอัดข้อมูลที่ต้องขยายก่อนจึงเรียกใช้งานได้ เช่น WinZip เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมอรรถประโยชน์เหล่านี้หลายโปรแกรมจะให้มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows แล้ว

บทที่ 5 เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูล

บทบาทและการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

การติดต่อสื่อสารเป็นการพูดคุยหรือส่งข่าวกันของมนุษย์ ซึ่งอาจเป็นการแสดงออกด้วยท่าทาง การใช้ภาษาพูดหรือผ่านทางตัวอักษร โดยส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารในระยะใกล้ ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้นมีการพัฒนาอุปการณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับใช้ในการสื่อสาร ทำให้สามารถสื่อสารได้ในระยะไกลและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เช่น โทรเลข โทรศัพท์ และโทรสาร 
    สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกันที่เรียกว่าระบบเครือข่าย (network) มีการพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นลำดับ จากในอดีตการใช้งานคอมพิวเตอร์จะเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่เช่น เมนเฟรม การใช้งานจะมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องปลายทางหรือเทอร์มินัล (terminal) หลายเครื่อง ซึ่งถือว่าเป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินัลในยุคแรก
 ต่อมามีการพัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์หรือซีพี ซึ่งมีขนาดความสามารถในด้านความเร็วการทำงานสูงขึ้น และมีราคาต่ำลงมากเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ทำให้การใช้งานที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น และมีความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเข้าด้วยกัน นอกเหนือจากการเชื่อมต่อเทอร์มินัลเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ดังเช่นผ่านมา และได้มีการกำหนดฐานกลางที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่มาจากผู้ผลิตต่างกัน ให้สามารถติดต่อถึงกันได้ เกิดการใช้งานระบบเครือข่ายที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน เช่น การโอนถ่ายย้ายข้อมูลระหว่างกัน หรือการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทำให้เกิดความสะดวก และรวดเร็วในการใช้งานเพิ่มขึ้น 
    ลักษณะของเครือข่ายอาจเริ่มจากจุดเล็กๆ เช่น ระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนแผงวงจรเดียวกัน ไปจนถึงระบบที่ทำงานร่วมกันในห้องทำงานในอาคาร ระหว่างอาคาร ระหว่างสถาบัน ระหว่างเมือง ระหว่างประเทศ 
    ปัจจุบันมีการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการคำนวณและเก็บข้อมูล รวมถึงการสื่อสารข้อมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างระหว่างคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation : OA) เป็นระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ และระบบเครือข่ายช่วยในงานที่เกี่ยวกับเอกสาร การโอนย้ายแลกเปลี่ยนไฟล์ การควบคุมเอกสารและส่งเอกสารไปยังหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และการส่งอีเมล ผู้ใช้งานอาจอยู่-ภายในอาคารเดียวกันหรืออยู่คนละเมืองก็ได้ การส่งข้อมูลข่าวสารเช่นนี้ต้องอาศัยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายประเภทที่สามารถเชื่อมต่อและทำงานร่วมกัน โดยผ่านสื่อกลางในการส่งผ่านข้อมูล ซึ่งผู้เรียนจะได้ศึกษาต่อไป นอกจากนี้ยังมีการกระจายฐานข้อมูลความรู้ต่างๆ ไว้ผ่านระบบเครือข่าย เช่น ฐานข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม งานวิจัย เศรษฐกิจ และสินค้าต่างๆ ในสถานศึกษาอาจจะมีข้อมูลที่เกี่ยวกับหนังสือและตำราวิชาการ หากผู้ใช้ต้องการข้อมูลใดก็สามารถติดต่อผ่านเครือข่ายสื่อสารด้วยคอมพิวเตอร์มายังศูนย์บริการข้อมูลนั้น ทำให้การได้รับข้อมูลเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว

การสื่อสารข้อมูล 
การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูล/ข่าวสารโดยผ่านทางสื่อกลางในการสื่อสารซึ่งอาจเป็นสื่อกลางประเภทที่มีสายหรือไร้สายก็ได้ องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล ประกอบด้วย
1.ข้อมูล/ข่าวสาร (data/message) คือ ข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆ ที่ต้องการส่งไปยังผู้รับโดยข้อมูล/ข่าวสารอาจประกอบด้วยข้อความ ตัวเลข รูปภาพ เสียง วีดิทัศน์ หรือสื่อประสม
2.ผู้ส่ง (sender) คือ คนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งข้อมูล/ข่าวสาร ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ กล้องวีดิทัศน์ เป็นต้น
3.ผู้รับ (receiver) คือ คนหรืออุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับรับข้อมูล/ข่าวสารที่ทางผู้ส่งข้อมูลส่งให้ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เป็นต้น
4.สื่อกลางในการส่งข้อมูล (transmission media) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูล/ข่าวสารไปยังจุดหมายปลายทาง โดยสื่อกลางในการส่งข้อมูลจะมีทั้งแบบมีสาย เช่น สายเคเบิล สายยูทีพี สายไฟเบอร์ออพติก และสื่อกลางในการส่งข้อมูลแบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ และดาวเทียม
5.โพรโทคอล (protocol) คือ กฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติต่างๆ ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นฯข้อตกลงในการสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่ง
4.2.1 สัญญาณที่ใช้ในการสื่อสาร แบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทคือ สัญญาณแอนะล็อก (analog signal) และสัญญาณดิจิทัล (digital signal) สัญญาณแอนะล็อกและสัญญาณดิจิทัลที่มีขนาดแอมพลิจูด (amplitude) ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาและเป็นค่าต่อเนื่อง เช่น เสียงพูด และเสียงดนตรี ส่วนสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณที่ไม่มีความต่อเนื่องที่เรียกว่า ดีสครีต (discrete) สัญญาณดิจิทัลถูกแทนด้วยระดับแรงดันไฟฟ้าสองระดับเท่านั้นโดยแสดงลักษณะเป็น “0” และ “1” ซึ่งตรงกับตัวเลขฐานสอง
ในบางครั้งการสื่อสารข้อมูลต้องมีการแปลงสัญญาณแอนะล็อกและดิจิทัลกลับไปมาเพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม และนำไปใช้งานได้ ตัวอย่างเช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สองเครื่องเข้าด้วยกันโดยผ่านระบบโทรศัพท์ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อรองรับเสียงพูด ที่มีลักษณะของสัญญาณเป็นแบบแอนะล็อก ไม่เหมาะสมสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัลระหว่างคอมพิวเตอร์ จึงต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการแปลสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งออกไปเป็นสัญญาณแอนะล็อก จากนั้นจะแปลงกลับเป็นสัญญาณดิจิทัลเมื่อสัญญาณถูกส่งถึงผู้รับ โดยผ่านอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณที่เรียกว่า โมเด็ม (Modem) ซึ่งใช้เทคนิคการบีบอัดข้อมูลร่วมกับการแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นจากการส่งสัญญาณด้วย
4.2.2 การถ่ายโอนข้อมูล เป็นการส่งสัญญาณออกจากอุปกรณ์ส่ง ไปยังอุปกรณ์รับโดยจำแนกได้ 2 แบบ คือ
1) การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละหลายบิตพร้อมกันจากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ผ่านสื่อกลางนำสัญญาณที่มีช่องทางส่งข้อมูลหลายช่องทางโดยทั่วไปจะเป็นสายนำสัญญาณหลายๆ เส้นที่มีจำนวนสายส่งสัญญาณเท่ากับจำนวนบิตที่ต้องการส่งในแต่ละครั้ง เช่น ส่งข้อมูล 11110001 ออกไปพร้อมกัน สายส่งก็มี 8 เส้น นอกจากการส่งข้อมูลหลักที่ต้องการแล้ว อาจมีการส่งข้อมูลอื่นเพิ่มเติมไปด้วย เช่น บิตพาริตี (Parity bit) ใช้ในการตรวจสอบความผิดพลาดของการรับสัญญาณที่ปลายทาง หรือสายที่ควบคุมการตอบโต้ เพื่อควบคุมจังหวะของการรับ-ส่งข้อมูลแต่ละชุด
สายส่งข้อมูลแบบขนานนี้มีความยาวไม่มาก เนื่องจากถ้าสายยาวมากเกินไปจะก่อให้เกิดปัญหาสัญญาณสูญหายไปกับความต้านทานของสาย และเกิดการรบกวนกันของสัญญาณ การส่งโดยวิธีนี้จึงนิยมใช้กับการส่งข้อมูลในระยะทางใกล้ๆ ข้อดีของการรับ-ส่งข้อมูลชนิดนี้คือการรับ-ส่งข้อมูลทำได้เร็วแต่มีข้อเสียที่ต้องใช้สายส่งหลายเส้นทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง ตัวอย่างที่พบเห็นได้บ่อยคือ การเชื่อมต่อระหว่างเมนบอร์ดกับฮาร์ดดิสก์ภายในคอมพิวเตอร์แบบ EIDE ดังรูปที่ 4.8 ก. และ การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับเครื่องพิมพ์ด้วยพอร์ตขนาน
2) การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม ในการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลจะถูกส่งออกมาทีละบิต ระหว่างจุดส่งและจุดรับ การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมต้องการสื่อกลางสำหรับการสื่อสารเพียงช่องเดียวหรือคู่สายเดียว ค่าใช้จ่ายในด้านของสายสัญญาณจะถูกกว่าขนานสำหรับการส่งระยะทางไกลๆ
การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมจะเริ่มโดยข้อมูลแต่ละชุดจะถูกเปลี่ยนให้เป็นอนุกรมแล้วทยอยส่งออกทีละบิตไปยังจุดรับ แต่เนื่องจากการทำงานและการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้ช่องทางการสื่อสารแบบขนานที่ประกอบด้วยชุดของข้อมูลหลายบิต ดังนั้นที่จุดรับจะต้องมีกลไกในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่รับมาทีละบิตให้เป็นชุดของข้อมูลที่ลงตัวพอดีกับขนาดของช่องทางการสื่อสารที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ เช่น บิตที่ 1 ลงที่บัสข้อมูลเส้นที่ 1 เป็นต้น การเชื่อมต่อสามารถทำได้โดยใช้สายถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม หรือที่เรียกว่า สายซีเรียล (Serial cable) ในปัจจุบันมีการพัฒนาการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมความความเร็วสูงโดยการเชื่อมต่อแบบ ยูเอสบี
4.2.3 รูปแบบการรับ-ส่งข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่งข้อมูลแบบขนานหรืออนุกรมสามารถแบ่งได้ 3 แบบดังนี้
1) การสื่อสารทางเดียว ( simplex transmission ) ข้อมูลสามารถส่งได้ทางเดียวโดยแต่ละฝ่ายจะทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เป็นผู้รับหรือผู้ส่ง บางครั้งเรียกการสื่อสารแบบนี้ว่าการส่งทิศทางเดียว ( unidirectional transmission ) เช่น การกระจายเสียงของสถานีโทรทัศน์หรือวิทยุ
2) การสื่อสารสองทางครึ่งอัตรา ( half duplex transmission ) สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งสองฝ่าย แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับจะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสาร
( walkie-talkie radio )
3) การสื่อสารสองทางเต็มอัตรา ( full duplex transmission ) สามารถส่งข้อมูลได้สองทางโดยที่ผู้รับและผู้ส่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์คู่สนทนาคุยโต้ตอบได้ในเวลาเดียวกัน

ารสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้ 
    1. ความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูล ปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากสามารถถูกส่งผ่านเครือข่ายการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว เช่น การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ระบบ ดีเอสแอล ( Digital Subscriber Line DSL ) ถ้าส่งด้วยอัตราเร็ว 2 Mbps หรือประมาณ 256 kB/s จะส่งข้อมูลจำนวน 200หน้าได้ในเวลาน้อยกว่า 10 วินาที 
    2. ความถูกต้องของข้อมูล การรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายการสื่อสารเป็นการส่งแบบดิจิทัล ซึ่งระบบการสื่อสารจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ส่ง และแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้น การสื่อสารข้อมูลจึงมีความเชื่อถือสูง 
    3. ความเร็วในการรับส่งข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูล หรือ ค้นคว้าข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ทำได้รวดเร็ว เนื่องจากสัญญาณทางไฟฟ้าเดินทางด้วยความเร็วใกล้เคียงความเร็วแสง เช่น การดูภาพยนตร์ หรือรายการโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต การตรวจสอบหรือการจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที 
    4. การประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารข้อมูล การรับและส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารสามารถทำได้ในราคาถูกกว่าการสื่อสารแบบอื่น เช่น การใช้งานโทรศัพท์โดยผ่านอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า วอยซ์โอเวอร์ไอพี ( Voice over IP : VoIP ) จะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยผ่านระบบโทรศัพท์พื้นฐาน หรือการใช้อีเมลส่งข้องมูลหรือเอกสารในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์จะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า และรวดเร็วกว่าการส่งเอกสารแบบวิธีอื่น 
 5. ความสะดวกในการแบ่งปันทรัพยากร ในองค์กรสามารถใช้อุปกรณ์สารสนเทศร่วมกันได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายติดตั้งอุปกรณ์ให้กับทุกเครื่อง เช่น เครื่องพิมพ์ นอกจากนี้ยังสามารถให้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลเหล่านั้นไว้ที่แหล่งเก็บข้อมูลที่เป็นศูนย์กลาง เช่น เครื่องบริการไฟล์ ( file server ) เป็นต้น 
    6. ความสะดวกในการประสารงาน ในองค์กรที่มีหน่วยงานย่อยหลายแห่งที่อยู่ห่างไกลกันสามารถทำงานประสานกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การประชุมทางไกล และการแก้ไขเอกสารร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย 
    7. ขยายบริการองค์กร เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้องค์กรสามารถกระจายทำการไปตามจุดต่างๆ ที่ต้องการให้บริการ เช่น ธนาคารที่มีสาขาทั่วประเทศ สามารถถอนเงินได้จากตู้เอทีเอ็ม หรือฝากเงินได้ตามตู้เอทีเอ็ม เป็นต้น 
    8. การสร้างบริการรูปแบบใหม่บนเครือข่าย การให้บริการต่างๆ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ทุกที่ทุกเวลา เช่น การซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการแบบหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ ( e – commerce ) และการรับชำระสินค้า ค่าสาธารณูปโภคผ่านจุดรับชำระแบบออนไลน์ ที่เรียกว่าเคาน์เตอร์เซอร์วิส ( counter service )



บทที่ 6 การเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

      อินเทอร์เน็ตได้ริเริ่มจากโครงการเครือข่ายที่เรียกว่า อาร์พาเน็ต ภายใต้กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา  เพื่อเป็นตัวแทนในการปกป้องประเทศ อาร์พาเน็ตมีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ให้นักวิทยาศาสตร์ที่อยู่ต่างที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้  2) เคือข่ายดังกล่าวยังสามารถใช้งานต่อได้ถึงแม้จะถูกลำลายด้วยอาวุธนิวเคลียร์ก็ตาม
อาร์พาเน็ตทดลองใช้งานเมื่อ พ.ศ.2512 โดยประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางอยู่ 4 เครื่อง แต่ละเครื่องตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยต่างๆกัน  โดยคอมพิวเตอร์ทั้ง 4 จะทำหน้าที่เป็นโฮสต์ และคอมพิวเตอร์ลูกข่ายต่างๆที่ได้เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายก็จะสามารถเข้าถึงเครือข่ายเพื่อเลือกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ด้วยสายสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง  จึงทำให้ติดต่อสื่อสารกันด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้
หลังจากนั้นหลายๆหน่วยงานก็เห็นถึงประโยชน์ โดยเฉพาะนักวิจัยจำนวนมากได้มีการพัฒนาเครือข่ายเพื่อใช้งานในหน่วยงานของตน จนมีการเชื่อมต่อเครือข่ายด้วยการใช้โปรโตคอล TCP/IP เป็นครั้งแรก  ต่อมาได้ปลี่ยนจากเครือข่ายเฉพาะกลุ่มมาเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ประชาชนทั่วไปสามารถใช้งานได้ เรียกว่า  เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเครื่องมือสื่อสารยุคใหม่ที่มีขอบเขตครอบคลุมทั่วทุกมุมโลก  ไทยเริ่มใช้งานราวปี พ.ศ.2530 และใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ราวปี พ.ศ.2535 หลังจากนั้นได้ขยายการใช้งานในวงกว้างมากขึ้น


คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง (Keyword) กับอินเทอร์เน็ตWebPage หมายถึง ข้อมูลที่เป็นอักษร เสียง และภาพต่างๆ ที่บรรจุในแฟ้มเอกสารแต่ละหน้าของเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) ที่เปิดอ่านจากโปรแกรม Browser

Web site หมายถึง สถานที่ที่ WebPage อาศัยอยู่ โดยเข้าถึงด้วยชื่อ Domain Name เช่น www.nu.ac.th (เว็บไซด์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร)

HomePage หมายถึง WebPage ที่อยู่หน้าแรกของ Web site ที่ใช้แฟ้มว่า index.html หรือ index.htm เสมอ

Web Browser โปรแกรมใช้ในการเข้าไปยังเว็บไซด์ต่างๆ ในโลก World Wide Web ของอินเทอร์เน็ต เช่น Netscape Navigator, Internet Explorer

Domain Name หมายถึงชื่อที่ใช้ประกาศความเป็นตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต ถ้าชื่อลงท้ายด้วย .com ต้องมีการจดทะเบียนที่ www.internic.com แต่ถ้าเป็นพวก .co.th การจดทะเบียนที่ www.ternic.co.th

URL (Uniform Resouire Locator) หมายถึง ที่อยู่ของข้อมูลบน WWW ซึ่งถ้าเราจะหาข้อมูล

IP (Internet Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการสื่อสารแบบ TCP

TCP/IP (Transport Control Protocol/Internet Protocol) เป็น Protocol ตามมาตรฐานอตุสาหกรรมในการติดต่อสื่อสาร ทำให้ระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้

Protocol เป็นกฏระเบียบและข้อตกลงที่สถาบันต่างๆ กำหนดขึ้นมาเพื่อรองรับการสื่อสารระหว่างเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถสื่อสารและเข้าใจพูดคุยกันได้ เช่นที่นิยมใช้คือ TCP/IP เป็นต้น

ISP (Internet Service Provider) คือผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ASP (Application Service Provider) คือผู้ให้บริการ Software หรือวิธีการใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องมี Software ของผู้ใช้เอง

IDC (Internet Data Center) คือผู้ให้บริการรับฝากเครื่อง Server และตระเตรียมสาธารณูปโภคในการทำธุรกรรมให้พร้อมสรรพ

E-Commerce (Elertronic Commerce) คือการทำธุรกรรม อะไรก็ได้โดยใช้สื่ออินเทอร์เน็ต

Hypertext คือเอกสารที่ทำการเชื่อมโยงต่อไปยังเอกสารอื่นๆ ทำให้สามารถอ่านได้หลายมิติ

Download คือการย้ายข้อมูลของคอมพิวเตอร์ที่ไกลออกไปมาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ท้องถิ่น (Local) โดยทั่วไปหมายถึง การรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป มาเครื่องอีกเครื่องหนึ่ง หรือเครื่องที่เรากำลังใช้งานอยู่ ซึ่งตรงข้ามกับ Upload

Upload เป็นการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ห่างไกลออกไป



POP (Post Office Protocal) ระบบที่ทำให้สามารถรับและดาว์นโหลด จดหมายจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ไปยังคอมพิวเตอร์ของเราเอง

Internet Address คือที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต จะประกอบไปด้วยชื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (User Name) และชื่อของอินเทอร์เน็ต (Internet Name) โดยมีรูปแบบ ดังนี้
ชื่อผู้ใช้@ชื่ออินเทอร์เน็ต
ตัวอย่าง เช่น chaiklongick@hotmail.com หมายถึงผู้ใช้ชื่อ chaiklong เป็นสมาชิกของศูนย์บริการหรือศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชื่อว่า hotmail.com

IP Address คือหมายเลขรหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต โดยเลขนี้จะมีรหัสซ้ำกันไม่ได้ IP Address ประกอบไปด้วยตัวเลข 4 หลักที่คั่นด้วย เครื่องจุด (.) ตัวอย่างเช่น 203.155.35.2 เป็น IP Address ของเครื่อง internet.th.com

Mailing List คือ กลุ่มสนทนาที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้โปรแกรม E-mail ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การเข้าร่วม Mailing List โดยสมัครสมาชิกแล้วจดหมายทุกฉบับที่ถูกส่งไปยัง List ก็จะถูกส่งไปให้ทุกคน ที่อยู่ใน List ได้อ่านกัน

 การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
    การเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปหรือหน่วยงานขนาดเล็กจะใช้การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (Dial-Up  Connection)  ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราวหรือเฉพาะบางเวลา ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในการเชื่อมต่อ มีดังนี้
    1 เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล
    2 เว็บบราวเซอร์  เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดึงข้อมูลมาจาเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (Hyper Text Markup Language)  และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูลที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้
    3 หมายเลขโทรศัพท์และสายโทรศัพท์  สำหรับเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลข่าวสาร โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์เพียง 3 บาทต่อครั้งของการเชื่อมต่อ
    4 โมเด็ม  เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณข้อมูลของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital) ให้เป็นสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อก (analog) และเมื่อเป็นผู้ส่งจะแปลงสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัล
    5 บริการชุดอินเทอร์เน็ตจากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP)  ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกขอเป็นสมาชิกเป็นรายเดือน รายปี หรืออาจเป็นการซื้อชุดอินเทอร์เน็ตแบบสำเร็จรูป โดยคิดค่าใช้บริการเป็นหน่วยชั่วโมง บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น ที
โอที กสท  โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที ล็อกอินโฟ  3BB เป็นต้น



บทที่ 7 เว็บแอพพลิเคชั่น
คำว่า "Web Application" นั้นคือ Web App. เป็นแอปพลีเคชั่นที่สามารถเรียกใช้งานได้ผ่านบราวเซอร์ต่างๆโดยที่เราไม่ต้องทำการ ติดตั้งแอปพลีเคชั่นเหล่านี้ลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง แต่สามารถเรียกใช้งานได้ผ่านบราวเซอร์ได้ ซึ่งทำให้เรียกใช้งานได้จากทุกที่ทุกเวลา
      เมื่อเรารู้จักความหมายกันแล้วต่อไป เราจะมารู้จักกระบวนการสร้างเว็บแอพพลิเคชั่นกัน
การสร้างเว็บแอพพลิเคชั่น
 การสร้างเว็บแอพพลิเคชั่นก็เหมือนกันกับการสร้างซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่ผู้สร้างจะต้องใช้ความคิดทางตรรกะและความคิดสร้างสรรค์ร่วมกันเพื่อให้แอพพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นมานั้นสามารถใช้งานได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และทำให้เกิดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมาย ในส่วนของขั้นตอนการสร้างนั้นเราจะต้องเตรียมการดังนี้
  • จัดเก็บข้อมูลความต้องการของระบบว่าเว็บแอพพลิเคชั่นที่เราจะสร้างขึ้นนั้นมีความสามารถอะไรบ้าง มีฟังก์ชั่นอะไรบ้างนั้นเอง และต้องการตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายกลุ่มไหน ซึ่งข้อมูลเหล่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ออกแบบหน้าเว็บและคนเขียนโปรแกรม
  • เตรียมเครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับสร้างเว็บแอพพลิเคชั่น ซึ่งเครื่องมือฯที่ต้องใช้นั้นคือ Editplus หรือ DreamWeaver หรืออื่นๆสำหรับเขียนโค้ด, ApacheและMysql สำหรับขับเคลื่อนการประมวลผลและการจัดการกับฐานข้อมูล
  • เริ่มการออกแบบโดยการเขียน Story Board หรืออาจเป็นการร่างหน้าเว็บแต่ละหน้าก็ได้
  • เมื่อการออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการสร้างโครงสร้างของเว็บโดยอาจจะทำเป็น เว็บต้นแบบหรือTemplate เพื่อให้เค้าโครงของเว็บแต่ละหน้ามีความใกล้เคียงกันดูเป็นเว็บเดียวกัน
  • จากนั้นจึงลงมือเขียนโปรแกรมให้ได้ตรงตามฟังก์ชั่นที่กำหนดไว้
  • ตรวจสอบการทำงานของระบบ
  • เป็นต้น

E-mail หรือจดหมายอิเล๊กทรอนิกส์ เป็นการรับ-ส่งจดหมายซึ่งกันและกัน มีความสะดวกและรวดเร็วในการรับ-ส่ง ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันและกันมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
การใช้งาน E-mailการทีเราจะสามารถใช้งาน E-mail ได้นั้น เราจะต้องทำการสมัคร mail ก่อน ซึ่งสามารถเข้าไปสมัครได้ในเว็บไซต์ที่ให้บริการฟรี mail ต่างๆทั่วไป เช่น hotmail, thaimail, chaiyomail, yahoomail เป็นต้น ซึ่งการสมัครนั้นก็แค่ เข้าไปยังส่วน สมัครสมาชิก (สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยสมัคร) แล้วกรอกรายละเอียดต่างๆให้เรียบร้อยแล้วส่งสมัครไป ถ้าเกิดปัญหาขึ้น เช่น สมัครไม่ได้ ทางเว็บจะบอกให้รู้ ส่วนมากจะเป็นการกรอกข้อมูลไม่ครบ หรือ ชื่อผู้ใช้,รหัสผ่าน ซ้ำหรือมีผู้ใช้แล้ว เราก็ทำการแก้ไขตามที่ทางเว็บเมล์นั้นๆ แจ้งให้ทราบ เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อยส่วนการเข้าใช้งาน เมื่อเราทำการสมัครเมล์นั้นๆเรียบร้อยแล้ว เราก็เพียงแค่ ใส่ User และ Pass ของเราเพื่อทำการ Login เข้าใช้งานเท่านั้นเอง
การรับ-ส่ง E-mail
การ รับ-ส่ง E-mail นั้น เราต้องทำการ Login เข้าไปในระบบก่อน โดยการเข้าไปยังเว็บเมล์ที่เราสมัครสมาชิกแล้วทำการใส่ User และ Pass ที่เราทำการสมัครไว้ เพื่อเข้าไปใช้งาน
เมื่อมีจดหมายเข้ามาก็จะปรากฏจดหมาใหม่ขึ้นมา เพื่อให้เราเข้าไปเปิดอ่านดู และเราสามารถจัดเก็บจดหมายหรือทำการจัดระเบียบของจดหมายของเราได้ด้วย

บทที่ 7 เว็บแอพพลิเคชั่น
เว็บแอพพลิเคชั่น    
คำว่า "Web Application" นั้นคือ Web App. เป็นแอปพลีเคชั่นที่สามารถเรียกใช้งานได้ผ่านบราวเซอร์ต่างๆโดยที่เราไม่ต้องทำการ ติดตั้งแอปพลีเคชั่นเหล่านี้ลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง แต่สามารถเรียกใช้งานได้ผ่านบราวเซอร์ได้ ซึ่งทำให้เรียกใช้งานได้จากทุกที่ทุกเวลา
      เมื่อเรารู้จักความหมายกันแล้วต่อไป เราจะมารู้จักกระบวนการสร้างเว็บแอพพลิเคชั่นกัน
การสร้างเว็บแอพพลิเคชั่น
 การสร้างเว็บแอพพลิเคชั่นก็เหมือนกันกับการสร้างซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่ผู้สร้างจะต้องใช้ความคิดทางตรรกะและความคิดสร้างสรรค์ร่วมกันเพื่อให้แอพพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นมานั้นสามารถใช้งานได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และทำให้เกิดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมาย ในส่วนของขั้นตอนการสร้างนั้นเราจะต้องเตรียมการดังนี้
จัดเก็บข้อมูลความต้องการของระบบว่าเว็บแอพพลิเคชั่นที่เราจะสร้างขึ้นนั้นมีความสามารถอะไรบ้าง มีฟังก์ชั่นอะไรบ้างนั้นเอง และต้องการตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายกลุ่มไหน ซึ่งข้อมูลเหล่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ออกแบบหน้าเว็บและคนเขียนโปรแกรม
เตรียมเครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับสร้างเว็บแอพพลิเคชั่น ซึ่งเครื่องมือฯที่ต้องใช้นั้นคือ Editplus หรือ DreamWeaver หรืออื่นๆสำหรับเขียนโค้ด, ApacheและMysql สำหรับขับเคลื่อนการประมวลผลและการจัดการกับฐานข้อมูล
เริ่มการออกแบบโดยการเขียน Story Board หรืออาจเป็นการร่างหน้าเว็บแต่ละหน้าก็ได้
เมื่อการออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการสร้างโครงสร้างของเว็บโดยอาจจะทำเป็น เว็บต้นแบบหรือTemplate เพื่อให้เค้าโครงของเว็บแต่ละหน้ามีความใกล้เคียงกันดูเป็นเว็บเดียวกัน
จากนั้นจึงลงมือเขียนโปรแกรมให้ได้ตรงตามฟังก์ชั่นที่กำหนดไว้
ตรวจสอบการทำงานของระบบ
เป็นต้น
E-mail หรือจดหมายอิเล๊กทรอนิกส์ เป็นการรับ-ส่งจดหมายซึ่งกันและกัน มีความสะดวกและรวดเร็วในการรับ-ส่ง ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันและกันมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
การใช้งาน E-mailการทีเราจะสามารถใช้งาน E-mail ได้นั้น เราจะต้องทำการสมัคร mail ก่อน ซึ่งสามารถเข้าไปสมัครได้ในเว็บไซต์ที่ให้บริการฟรี mail ต่างๆทั่วไป เช่น hotmail, thaimail, chaiyomail, yahoomail เป็นต้น ซึ่งการสมัครนั้นก็แค่ เข้าไปยังส่วน สมัครสมาชิก (สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยสมัคร) แล้วกรอกรายละเอียดต่างๆให้เรียบร้อยแล้วส่งสมัครไป ถ้าเกิดปัญหาขึ้น เช่น สมัครไม่ได้ ทางเว็บจะบอกให้รู้ ส่วนมากจะเป็นการกรอกข้อมูลไม่ครบ หรือ ชื่อผู้ใช้,รหัสผ่าน ซ้ำหรือมีผู้ใช้แล้ว เราก็ทำการแก้ไขตามที่ทางเว็บเมล์นั้นๆ แจ้งให้ทราบ เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อยส่วนการเข้าใช้งาน เมื่อเราทำการสมัครเมล์นั้นๆเรียบร้อยแล้ว เราก็เพียงแค่ ใส่ User และ Pass ของเราเพื่อทำการ Login เข้าใช้งานเท่านั้นเอง
การรับ-ส่ง E-mail
การ รับ-ส่ง E-mail นั้น เราต้องทำการ Login เข้าไปในระบบก่อน โดยการเข้าไปยังเว็บเมล์ที่เราสมัครสมาชิกแล้วทำการใส่ User และ Pass ที่เราทำการสมัครไว้ เพื่อเข้าไปใช้งาน
เมื่อมีจดหมายเข้ามาก็จะปรากฏจดหมาใหม่ขึ้นมา เพื่อให้เราเข้าไปเปิดอ่านดู และเราสามารถจัดเก็บจดหมายหรือทำการจัดระเบียบของจดหมายของเราได้ด้วย
ส่วนการส่งจดหมายนั้นทำได้โดยการเลือก New หรือส่วนเขียนจดหมาย แล้วใส่รายละเอียดต่างลงในแต่ละส่วน ซึ่งหลักๆ มีดังนี้
- To:  ใส่ Email address ของผู้รับ
- From:ใส่ Email address ของผู้ส่ง
- Subject: ชื่อเรื่องจดหมาย ไม่จำเป็นต้องใส่ แต่แนะนำว่าควรใส่เพื่อให้สื่อให้รู้ว่าเนื้อหาจดหมายจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
- CC:ย่อมาจาก Carbon copy ใช้ในกรณีที่ต้องการสำเนาจดหมายให้บุคคลอื่น ๆ ทราบเรื่อง
- BCc:ย่อมาจาก Blind carbon copy เป็นการสำเนาจดหมายเหมือน CC แต่ผู้รับในช่อง Toจะไม่เห็นว่าเราสำเนาจดให้ใครบ้าง
- Attachments:ใส่ชื่อ File ที่ต้องการส่งแนบไปพร้อมข้อความ
- Body:พิมพ์ข้อความจดหมาย
- Signature:ข้อความสั้น ๆ จำนวน 3-4 บรรทัด เพื่อระบุข้อมูลส่วนตัวของผู้ส่ง
ส่วนการส่งจดหมายนั้นทำได้โดยการเลือก New หรือส่วนเขียนจดหมาย แล้วใส่รายละเอียดต่างลงในแต่ละส่วน ซึ่งหลักๆ มีดังนี้
To:  ใส่ Email address ของผู้รับ
From:ใส่ Email address ของผู้ส่ง
Subject: ชื่อเรื่องจดหมาย ไม่จำเป็นต้องใส่ แต่แนะนำว่าควรใส่เพื่อให้สื่อให้รู้ว่าเนื้อหาจดหมายจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
CC:ย่อมาจาก Carbon copy ใช้ในกรณีที่ต้องการสำเนาจดหมายให้บุคคลอื่น ๆ ทราบเรื่อ
BCc:ย่อมาจาก Blind carbon copy เป็นการสำเนาจดหมายเหมือน CC แต่ผู้รับในช่อง Toจะไม่เห็นว่าเราสำเนาจดให้ใครบ้าง
Attachments:ใส่ชื่อ File ที่ต้องการส่งแนบไปพร้อมข้อความ
Body:พิมพ์ข้อความจดหมาย
Signature:ข้อความสั้น ๆ จำนวน 3-4 บรรทัด เพื่อระบุข้อมูลส่วนตัวของผู้ส่


บทที่ 9 การใช้งานกูเกิ้ลแอพพลิเคชั่น

การทำงานของ Google Mail

1.    ลดการเก็บข้อมูลในอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยง แอปพลิเคชันบนเบราว์เซอร์ช่วยให้ข้อมูลที่มีความสำคัญได้รับความปลอดภัยมากกว่า ต่างจากซอฟต์แวร์แบบเดิม คือเมื่อผู้ใช้สิ้นสุดการใช้แอปพลิเคชันแบบเว็บ จะมีข้อมูลที่เสี่ยงต่อการรั่วไหลเหลือในเครื่องเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนได้อย่างปลอดภัยจากเบราว์เซอร์ใดก็ได้ ลดโอกาสในการเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องหรืออุปกรณ์ที่ไม่มีความปลอดภัย เช่น ธัมบ์ไดรฟ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปสูญหาย และไวรัสทำให้ข้อมูลสูญหาย การทำให้สามารถใช้งานข้อมูลได้อย่างปลอดภัยจากเบราว์เซอร์ และลดปริมาณการเสี่ยงของข้อมูลที่เก็บไว้ในอุปกรณ์ คือยุทธศาสตร์การรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
          2.    ระบบคลาวด์ของ Google ช่วยให้ทำงานร่วมกันได้เร็วกว่า เนื่องจากข้อมูลใน Google Apps นั้นเก็บไว้ในคลาวด์ แทนที่จะเป็นคอมพิวเตอร์ของพนักงาน ทำให้ผู้ใช้หลายคนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการทำงานพร้อมกัน โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการใช้ระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ หรือเบราว์เซอร์เดียวกัน ตัวอย่างเช่น แทนที่จะทำงานร่วมกันในเอกสารด้วยการส่งการแก้ไขกลับไปกลับมาในรูปของไฟล์แนบ ก็จะสามารถเก็บเอกสารไว้ในคลาวด์ด้วย Google Apps เพื่อนร่วมงานสามารถเข้าถึงเอกสารทางเว็บได้พร้อมกันในเบราว์เซอร์ของตนเอง และสามารถแก้ไขเอกสารได้ การขจัดการรับส่งเอกสารเป็นไฟล์แนบด้วยการเก็บข้อมูลในคลาวด์ช่วยประหยัดเวลาและลดความยุ่งยากของการทำงานที่ต้องการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
           3.    สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจากที่ใดก็ได้ แอปพลิเคชันแบบเว็บ ทำให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนได้อย่างสมบูรณ์ในอุปกรณ์หลากหลายชนิด เพื่อให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพในหลากหลายที่ ข้อมูลของผู้ใช้จะเก็บไว้ในคลาวด์ ไม่ใช่ในคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลทั้งหมดของตน และทำงานผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่ใดก็ได้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกทั้งในที่ทำงาน ที่บ้าน ขณะเดินทางและจากโทรศัพท์มือถือของตน สำหรับเทคโนโลยีแบบเดิม ข้อมูลสำคัญอาจติดค้างอยู่ในซอฟต์แวร์ที่ใช้ได้เฉพาะในอุปกรณ์บางชนิด ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
Google Apps

บทที่ 10 ความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์

ความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์
ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ควรมีความรู้และปฏิบัติตามในการรักษาคอมพิวเตอร์ ข้อมูลส่วนตัว ประวัติการท่องอินเทอร์เน็ต เลขบัตรเครดิตและข้อมูลอื่นๆ ให้ปลอดภัย โดยผู้ใช้งานควรระมัดระวังในเรื่องของโปรแกรมหรือผู้คนที่ให้ความมั่นใจว่าสามารถที่จะปกป้องดูแลความปลอดภัยได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะการดูแลรักษาความปลอดภัยนั้นต้องมีทั้งโปรแกรมป้องกันภัยที่ดีและลักษณะพฤติกรรมการใช้งานที่ดีด้วย เช่น ควรที่จะต้องรู้ว่าสิ่งใดไม่ควรให้ผู้อื่นเข้าถึงได้ในขณะที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ใครที่ควรไว้วางใจ และการรักษาความปลอดภัยอื่นๆที่เทคโนโลยีไม่สามารถตอบโจทย์ได้ ซึ่งผู้ใช้งานควรจะต้องมองหาโปรแกรมที่ตอบโจทย์การใช้งานของตัวผู้ใช้เองมากที่สุดและในขณะเดียวกันต้องสามารถปกป้องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย


แนวทางการรักษาคอมพิวเตอร์ให้ปลอดภัย มีดังต่อไปนี้
1. ระบบปฏิบัติการต้องอัพเดตอยู่เสมอ
ผู้ใช้งานต้องคอยหมั่นตรวจสอบดูแลให้ระบบปฏิบัติการ (Operating system) ของคอมพิวเตอร์นั้นทันสมัยอยู่เสมอ ผู้พัฒนาระบบจะมีการแจ้งเตือนให้ผู้ใช้งานอัพเดตระบบอยู่เป็นระยะๆ  ซึ่งอาจจะเป็นการแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติเมื่อถึงช่วงเวลาที่ต้องอัพเดตระบบหรือผู้ใช้งานอาจส่งคำขอไปที่ผู้พัฒนาระบบเพื่อขออัพเดตระบบได้ด้วยตนเองหรือปรับตั้งค่าที่หน้าการตั้งค่าของระบบเองก็ได้ การอัพเดตระบบเหล่านี้จะช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น ง่ายต่อการใช้งานมากขึ้น และสามารถแก้ไขช่องโหว่ของความปลอดภัยที่บางครั้งโปรแกรมตัวก่อนๆ นั้นไม่สามารถปกป้องได้ แต่อาชญากรนั้นก็สามารถที่จะเรียนรู้และค้นพบช่องโหว่ของความปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว บางครั้งก็ก่อนที่ผู้พัฒนาโปรแกรมจะแก้ไขได้ทัน ดังนั้นการแก้ไขหรือซ่อมแซมโปรแกรมอย่างรวดเร็วและทันท่วงทีถือเป็นสิ่งที่ดี และถือเป็นโชคดีที่ระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่สามารถที่จะดูแลระบบของตนเองให้ทันสมัยอยู่เสมอและปลอดภัยได้เป็นอย่างดี และคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานก็จะปลอดภัยหากคุณหมั่นอัพเดตระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์อยู่เสมอ
การติดตั้งโปรแกรมอัพเดตระบบปฏิบัติการลงบนคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เหตุเพราะคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ที่ซื้อมาจากร้านนั้นอาจวางอยู่ที่ร้านมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้วก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นจึงหมายความว่า ระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นอาจล้าหลังและไม่ได้รับการอัพเดต ดังนั้นเมื่อซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ ผู้ใช้งานควรสละเวลาอัพเดตระบบปฏิบัติการของเครื่องเพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์ปลอดภัยยิ่งขึ้น
2. บัญชีผู้ใช้และพาสเวิร์ด
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องควรจะมีบัญชีผู้ใช้ไว้สำหรับทำการล็อกอินเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งบัญชีผู้ใช้จะเปรียบเสมือนปราการด่านแรกในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวและฟังก์ชั่นต่างๆในคอมพิวเตอร์  ดังนั้น ผู้ใช้งานควรสร้างรหัสผ่านหรือพาสเวิร์ดของทุกๆบัญชีผู้ใช้ด้วยเพื่อให้ยากต่อการที่ผู้ใช้งานคนอื่นๆจะสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน
3. การป้องกันทางกายภาพ
            ผู้คนมากมายไม่ได้ตระหนักเลยว่าข้อมูลส่วนตัวของตนเองนั้นมีมูลค่ามหาศาลสำหรับบุคคลอื่น หากผู้ใช้งานกำลังกำลังทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่ที่ไม่รู้จักคุ้นเคยหรือที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ใช้งานก็จะต้องคอยดูแลทรัพย์สินเป็นอย่างดีโดยไม่ให้คลาดสายตา ซึ่งคอมพิวเตอร์ก็ใช้หลักการเดียวกัน ลองคิดสักนิดว่าจะอันตรายมากแค่ไหนถ้าหากข้อมูลในคอมพิวเตอร์ตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่หวังดี ผู้ใช้งานควรระลึกเสมอว่าได้เก็บข้อมูลสำคัญอะไรเอาไว้ในคอมพิวเตอร์ และหากมีคนมาขโมยข้อมูลนั้นไป เขาจะเอามันไปทำอะไรหรือใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ผู้ใช้งานควรตระหนักด้วยว่า พาสเวิร์ดนั้นเพียงแค่ช่วยปกป้องให้ผู้ไม่หวังดีเข้าถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ได้ช้าลงเท่านั้น แต่มันจะไม่สามารถช่วยปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งานได้ถ้าหากระบบทั้งระบบถูกทำลายไป  การเข้าถึงคอมพิวเตอร์โดยตรงคือวิธีที่ง่ายที่สุดในการเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ (โดยการใช้คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง) โดยที่ไม่มีความจำเป็นจะต้องรู้แม้กระทั่งพาสเวิร์ดตัวแรกของผู้ใช้งานด้วยซ้ำ ถ้าหากข้อมูลในโน้ตบุ๊คของผู้ใช้งานมีมูลค่ามาก ผู้ใช้งานยิ่งต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว และยิ่งต้องให้ความสนใจมากขึ้นไปอีก หากผู้ใช้งานให้คนอื่นยืมคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพราะถึงแม้ว่าผู้ใช้งานจะเชื่อใจบุคคลที่ให้ยืมมากแค่ไหน ก็ไม่สามารถที่จะคอยควบคุมให้เขาใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างระมัดระวังและปลอดภัยเท่าตัวเอง
4. ใช้โปรแกรมแอนติไวรัส
ถ้าหากผู้ใช้งานใช้โปรแกรมวินโดวส์ของไมโครซอฟต์ ควรใช้โปรแกรมแอนติไวรัสและหมั่นอัพเดตมันอยู่เสมอ เพราะมีโปรแกรมชนิดหนึ่งที่ชื่อว่ามัลแวร์ ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อขโมยข้อมูลหรือเพื่อใช้คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานในทางที่ไม่ดี ไวรัสและมัลแวร์เหล่านี้สามารถเข้าถึงระบบ เปลี่ยนแปลงระบบและฝังตัวอยู่ในคอมพิวเตอร์ มันสามารถเข้ามาอยู่ในคอมพิวเตอร์ผ่านทางอีเมล์ เว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานเข้าชม หรือมาพร้อมกับไฟล์ที่ผู้ใช้งานไม่คิดว่ามันจะเป็นอันตราย ผู้ให้บริการโปรแกรมแอนติไวรัสจะทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับตัวคุกคาม (Threat) ที่ขึ้นเกิดขึ้นอยู่เสมอและเพิ่มมันเข้าไปในบัญชีที่คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานต้องสกัดกั้น ในการที่จะทำให้โปรแกรมสามารถตรวจจับตัวคุกคามใหม่ๆได้ตลอด ผู้ใช้จึงจำเป็นที่จะต้องอัพเดตโปรแกรมแอนติไวรัสอย่างสม่ำเสมอ 
5. อุปกรณ์บันทึกข้อมูลภายนอกและอุปกรณ์บันทึกข้อมูลขนาดพกพา
การส่งผ่านของไวรัสผ่านทางแฟลชไดร์ฟหรือช่องแนบข้อมูลของอีเมล์สามารถทำได้อย่างง่ายดายและส่วนใหญ่ตัวไวรัสเองมักจะเป็นตัวที่ส่งข้อมูลหรืออีเมล์ด้วยตัวของมันเองแทนที่จะเป็นเจ้าของอีเมล์หรือแฟลชไดร์ฟนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์วินโดวส์ ผู้ใช้ควรระมัดระวังในการเสียบแฟลชไดร์ฟเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือให้บุคคลอื่นยืมไปใช้ ซึ่งบริษัทไมโครซอฟต์เองก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับการที่คอมพิวเตอร์มีการตั้งค่าให้เปิดแฟลชไดร์ฟเองโดยอัติโนมัติ  ซึ่งนั่นทำให้วินโดวส์มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ผู้ใช้ก็ไม่ควรที่จะเปิดไฟล์ที่ตนเองไม่รู้จักหรือไม่น่าไว้วางใจ
6. เลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่น่าเชื่อถือและซอฟต์แวร์แบบโอเพ่นซอร์ส
ผู้ใช้ควรเลือกใช้โปรแกรมจากผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายที่มีความน่าเชื่อถือ หรือเลือกใช้โปรแกรมแบบโอเพ่นซอร์ส (Open source software) คือซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่มีไลเซนส์แบบโอเพ่นซอร์ส ซึ่งมีลักษณะต่างจากซอฟต์แวร์ทั่วไป คือผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จะอนุญาตให้ผู้ใช้ติดตั้งและใช้งานได้โดยไม่จำกัดจำนวนและรูปแบบการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานส่วนตัว ในเชิงธุรกิจหรือในองค์กร มีการเผยแพร่ต้นฉบับ (Source code) ของซอฟต์แวร์เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขดัดแปลงให้ตรงความต้องการได้ ซึ่งซอฟต์แวร์แบบโอเพ่นซอร์สนี้มีข้อดีอยู่ด้วยกันหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะไม่มีค่าใบอนุญาต (License) และไม่เสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ สามารถแก้ไขโปรแกรมให้ตรงกับความต้องการของตัวเองหรือขององค์กรได้ทันที สามารถทำร่วมกันกับซอฟต์แวร์อื่นๆได้เป็นอย่างดี ไม่เหมือนกับซอฟต์แวร์แบบโคลสซอร์ส (Closed source software) หรือซอฟท์แวร์ลิขสิทธ์ที่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งบางครั้งประเทศที่ผู้ใช้งานอาศัยอยู่ก็ไม่สามารถโหลดซอฟต์แวร์นั้นๆ หรือตัวอัพเดตซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ และซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนมากมักมีไวรัสติดมาด้วย
7. การทำลายข้อมูลในคอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย
                                    ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานและจัดเก็บข้อมูล ในเวลาที่เราดาวน์โหลดรูปภาพหรือคลิปวีดิโอ รูปภาพหรือคลิปวีดิโอเหล่านั้นก็จะถูกจัดเก็บเอาไว้ในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องหรือที่เก็บข้อมูลขนาดพกพาจนกว่าผู้ใช้จะไม่ต้องการและจัดการลบข้อมูลทิ้งไป อย่างไรก็ตาม ข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ใช้ลบด้วยวิธีการลบแบบเบื้องต้นอาจไม่เพียงพอหากข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลที่เป็นความลับสำคัญหรือเป็นข้อมูลที่ไม่อยากเปิดเผยให้ใครรู้ เพราะข้อมูลที่ถูกลบไปแล้วนั้น ยังสามารถกู้กลับมาได้ใหม่อีกครั้งหากไม่ใช้วิธีการลบขั้นสูงหรือใช้โปรแกรมที่ช่วยในการลบข้อมูลโดยสมบูรณ์ ดังนั้น ผู้ใช้งานจึงควรมีโปรแกรมช่วยลบติดคอมพิวเตอร์ไว้สักหนึ่งตัวหากต้องการลบไฟล์ข้อมูลที่สำคัญหรือเป็นความลับ
โปรแกรมช่วยลบข้อมูลโดยสมบูรณ์มีอยู่หลายโปรแกรม มีคุณสมบัติช่วยลบไฟล์ข้อมูลที่ไม่ต้องการได้อย่างถาวร โดยไม่สามารถกู้กลับคืนมาได้อีก โดยแต่ละตัวนั้นก็จะมีวิธีการดำเนินการลบข้อมูลที่หลากหลาย และมีขั้นตอนการใช้งานที่ยากง่ายแตกต่างกันออกไป โดยในที่นี้จะขอยกตัวอย่างบางโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากในการใช้งาน

บทที่ 11 การยศาสตร์

คำว่า Ergonomics มาจากการนำภาษากรีก คำมารวมกัน คือ คำว่า ERGON (งาน) nomos (กฎธรรมชาติ) International Ergonomics Association ได้ให้นิยามของวิชานี้ไว้สรุปได้ว่าเป็นวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษากายวิภาค (Anatomy) สรีรศาสตร์ (Physiology) และจิตศาสตร์ (Psychology) ของคนในสภาพแวดล้อมการทำงาน วิชานี้จึงเกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้าเพื่อทำให้ประสิทธิภาพ สุขภาพความปลอดภัย และความสะดวกสบาย มีผลดีที่สุดแก่คนในสถานที่ทำงาน ที่บ้าน และสนามกีฬา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น การศึกษาเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของคน เครื่องจักร และสภาพแวดล้อมจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะนำไปสู่ การออกแบบระบบการทำงานที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน สำหรับชื่อภาษาไทยของคำ Ergonomics นั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ ได้ให้ชื่อภาษาไทยคือ "การยศาสตร์"
               Ergonomics อาจถูกกล่าวถึงเป็นคำอื่นเช่น ' HumanFactors' และจะมีประโยชน์กับบุคคลหลายสาขาอาชีพเช่น นักกายวิภาค (anatomists) สถาปนิก (architects)นักออกแบบอุตสาหกรรม (industrial)วิศวกร (engineers) แพทย์(physicians) นักกายภาพบำบัด (physiotherapists) นักจิตวิทยาบำบัด (phychologists) และนักอนามัยอุตสาหกรรม (industrial hygienists)

               การนำหลักการของวิชานี้ไปใช้งานนั้น อาจเป็นการออกแบบระบบงานใหม่หรือปรับปรุงงานต่าง ๆ ในส่วนของ hardware ได้แก่ เครื่องมือต่าง ๆ โต๊ะปฏิบัติงาน ชานชลา เก้าอี้ เครื่องจับชิ้นงาน การควบคุมการแสดงผล (displays) ช่องทางเดิน ประตูและหน้าต่าง เป็นต้น นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังอาจมีการออกแบบสภาพแวดล้อมในการทำงานด้วย เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการทำงาน และอาศัยหลักการของวิชา Ergnomics อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน เช่น การกำหนดความถี่ของการพัก การเลือกกะงาน และการเพิ่มจำนวนชนิดของงาน Ergonomics เกี่ยวข้องกับการออกแบบ software เนื่องจากในปัจจุบันนี้งานต่าง ๆ จำนวนมากจะเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ การแสดงข้อมูลและผลการคำนวณบนจอของคอมพิวเตอร์ จะต้องมีความสัมพันธ์กับความสามารถรับข่าวสารของคนด้วย EROGNOMICS มีส่วนสำคัญในการทำให้มีการปรับปรุงสุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน เช่น การออกแบบระบบของกล้ามเนื้อและกระดูก ( musculoskeletal injuries ) การออกแบบสถานีงานเกี่ยวกับ visual display unit ( VDU ) เพื่อลดความไม่สะดวกในการมอง และท่าของการทำงาน ( postures ) การออกแบบเครื่องมือ (hand tools) 
เพื่อลดความเมื่อยล้าในการทำงานการออกแบบเครื่องมือและการวางตำแหน่งของจุดควบคุม เพื่อทำให้มีข้อมูลเพียงพอที่จะทำงานได้อย่างรวดเร็ว และลดความเสี่ยงที่จะเกิดจากความผิดพลาด การจัดให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อสุขภาพ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น